พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการรายบุคคล สำนักบัณฑิตศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2568

พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการรายบุคคล

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 สำนักบัณฑิตศึกษา จัดพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นการถ่ายทอดยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติตามนโยบายที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจะดำเนินการตามแผนปฏิรูป รวมถึงความสอดคล้องต่อนโยบายของทางภาครัฐ และการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหลัก โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย สินสุวรรณ (ผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตศึกษา) เป็นประธาน และเป็นผู้ร่วมลงนาม ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิระพล กาละดี (รองผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตศึกษา) หัวหน้าฝ่ายและบุคลากรสำนักบัณฑิตศึกษา ณ ห้องประชุม 2007 อาคารวิชาการ 3 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธธรมาธิราช ครั้งที่ 14

                เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 สำนักบัณฑิตศึกษาได้ดำเนินการจัดการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธธรมาธิราช ครั้งที่ 14 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี เป็นประธาน
                  การจัดงานจัดในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams การจัดงานนอกจากจะมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการ สู่สาธารณชน โดยผ่านเวทีนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
นักวิจัย และนักวิชาการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าทางการวิจัยในสาขาต่างๆ แล้วยังเป็นการสร้างผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของ มสธ. ที่มีคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษา  


                   ในครั้งนี้มีบทความนำเสนอทั้งสิ้น 198 บทความ แบ่งเป็น กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 37 บทความ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 11 บทความ และกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 150 บทความ และมีบทความวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ได้รับรางวัล จำนวน 14 ผลงาน
                    นอกจากนี้ สำนักบัณฑิตศึกษา ยังได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์  คล้ายสังข์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ปรัชญา บุญขวัญ หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษและเสวนาทางวิชาการ “เรื่อง AI โอกาส และความท้าทายทางการศึกษา การวิจัยในอนาคต”  เป็นการเติมเต็มให้ผู้นำเสนอผลงานได้แนวคิดเพื่อต่อยอดงานวิจัย และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป